กะทกรกรักษาโรคความดันโลหิตสูง


กะทกรกมีชื่อภาษาอังกฤษ Fetid passionflower, Scarletfruit ชื่อวิทยาสตร์ Passiflora foetida เป็นไม้เถา ขึ้นอยู่ทั่วไปในที่ชื้น รก เช่นตามป่าละเมาะ สวนผลไม้ ทุ่งนา สองข้างทาง ริมรั้ว งอกเองตามธรรมชาติ ไม่ต้องปลูกแต่ตอนนี้ใกล้จะสูญพันธ์ จึงจำเป็นต้องนำมาปลูกเพื่อสงวนพันธุ์ไว้ ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว แบนๆ รูปหัวใจ คล้ายใบตำลึงแค่มีขน ลักษณะของดอกมี ก้านดอกยาวกว่าใบ ดอกบานออกกลม มีกลีบดอกสีขาว ผลมีรกหุ้ม สีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเหลือง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณ
เป็นพืชสมุนไพรรักษาโรคความดันโลหิตสูง


วิธีการรับประทานเพี่อรักษาโรคความดันโลหิตสูง
1.ใบ ยอดอ่อน ผลอ่อน รก นำไปลวก จิ้มน้ำพริก แกงเลียง แกงป่า แกงเผ็ด โดยกินเป็นประจำ สม่ำเสมอ อาทิตย์ละ 3 -5 มื้อ
2.ราก นำไปต้ม ดื่มเป็นชา วันละ 2 ครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร 10 นาที ครั้งละ 1 แก้ว

ข้อควรระวัง
ต้นสด ผลอ่อน มีพิษ กินเข้าไปเป็นอันตรายต่อร่างกาย เพราะฉะนั้นต้องนำไปปรุงให้สุกก่อนจึงจะรับประทานได้ และควรรับประทานอย่างต่อเนื่องโรคความดันโลหิตสูงจะทุเลาเบาบางลง

ตำลึงรักษาโรคความดันโลหิตสูง



ตำลึงเป็นไม้เลื้อย ที่ขึ้นอยู่ทั่วไปในที่ชุ่มชื้น ภาษาอังกฤษ Ivy Gourd ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coccinia grandis ใ บมีสีเขียวเข้ม ลักษณะใบ คล้ายใบ ชะพลูแต่มีขนาดเล็กกว่า นุ่มกว่า
นอกจากนี้ ยังมีมือเกาะที่ยื่นออกมาจากข้อ ดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและดอกคู่ กลีบดอกมีสีขาว ชอบเกาะตามริมรั้ว ที่เตียนโล่งที่รก ก็สามารถขึ้นได้

สรรพคุณ
สามารถป้องกันและรักษาได้หลายโรค แต่ขอกล่าวเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องดังนี้
1. ช่วยควบคุม การไหลเวียนของโลหิต (ใบ)
2. สามารถป้องกันและรักษาโรคหลอดเลือดแข็ง ตีบตัน และแตก ( ใบ ดอก ผล )
3. ช่วยป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูง ( ใบ ดอก )



วิธีการ
1.นำใบสด ประมาณ 5 – 7 ใบ มาตำ บด หรือขยำ นำไปคั้นในน้ำ กรองด้วยผ้าขาวบาง ให้ได้น้ำที่คั้นมา 100 ซีซี นำไปผสมน้ำประมาณ 1 ลิตร ดื่ม วันละ 3 เวลา ก่อนรับประทานอาหาร 15 นาที
2.ดอก ใบ นำไปตากให้แห้ง นำมาบด ฉีก มาชงเป็นน้ำชา ดื่มวันละ 3 เวลา ก่อนรับประทานอาหาร 15 นาที
3.ดอก ใบ นำไปตากให้แห้ง นำมาบดเป็นผง รับประทานกับน้ำผึ้งรวง ครั้งละ 1 ช้อนชา วันละ2 ครั้ง
4.นำใบมาประกอบอาหาร เช่น ลวกกินกับน้ำพริก แกงจืด แกงเลียง แกงเผ็ด กินให้เป็นประจำเกือบทุกวัน

ข้อเสนอแนะ ควรทำอย่างต่อเนื่อง งดของกินที่เสี่ยงต่อสุขภาพ แล้วโรคความดันโลหิตสูงจะทุเลาเบาบางลงค่ะ

รางจืดรักษาโรคความดันโลหิตสูง



รางจืด เป็นพืชสมุนไพรไทยรักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคอื่นๆ เป็นไม้เลื้อย หรือเป็นไม้เถา มีชื่อภาษาอังกฤษ คือ Laurel Clockvine, Blue Trumphet Vine มี ชื่อวิทยาศาสตร์ Thumbergia laurifolia Lindl. อยู่ในวงศ์ ACANTHACEAE รางจืดมีลักษณะเป็นเถา เนื้อแข็ง ลำต้นมีสีเขียว ชอบพันรัดต้นไม้อื่น รางจืดเป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย ทำให้สามารถขึ้นได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นของประเทศไทยทั่วทุกภาค เป็นพืชที่มีความ เจริญเติบโตได้เร็วมาก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถาในการปักชำ แต่ตามปกติแล้วจะขึ้นเองตามธรรมชาติ ชอบเกาะ ขึ้นตามสายรั้ว ใบสีเขียวสด มีลักษณะ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบคล้ายรูปหัวใจหรือรูปใบขอบขนานหรือเป็นรูปไข่ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีเส้นอยู่ 3 เส้นออกจากโคนใบ รางจืด มีดอกสีม่วง โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยานั้นก็ได้แก่ ใบ ราก และเถาสด

สรรพคุณของรางจืด รักษาโรคความดันโลหิตสูง

มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง หลายคนได้รับการแนะนำให้รักษาโรคโดยการ ใช้รางจืด วิธีการ
1.นำใบสด ประมาณ 5 ใบ มาคั้น ปั่น หรือตำ ผสมกับน้ำ 1 ลิตร รับประทานให้หมดภายใน 1 วัน
2.นำใบสดรางจืด ไปตากแห้ง นำมาหั้น ฉีก เป็นชา รับประทาน วันละ 1 – 2 แก้ว



จากการที่มีหมอพื้นบ้าน ใช้รางจืดในการคุมโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีการทดลองที่สนับสนุนการใช้ดังกล่าวคือ มีการทดลองพบว่าการให้สารสกัดด้วยน้ำของใบรางจืดมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด และทำให้บีต้าเซลล์ของตับอ่อนฟื้นฟูขึ้นบ้างแม้จะไม่สมบูรณ์ ในเรื่องของฤทธิ์ลดความดันนั้นพบว่าสกัดด้วยน้ำของใบรางจืดแห้งมีผลทำให้ ความดันโลหิตของหนูแรตลดลง โดยกลไกการออกฤทธิ์ส่วนหนึ่งอาจผ่าน Cholinergic receptor และทำให้หลอดเลือดแดงคลายตัว

ข้อเสนอแนะ : การใช้สมุนไพรในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงนี้ นี้ พึงระลึกว่าต้องมีการรักษา ร่วมไปกับแผนแพทย์แผนปัจจุบัน ผู้ป่วยควรวัดความดันอย่างสม่ำเสมอ และควรรับประทานรางจืดอย่างสม่ำเสมอและ ต่อเนื่องจึงจะได้ผล

ผักหวานรักษาโรคความดันโลหิตสูง



ผักหวานบ้าน ชื่ออังกฤษ Star gooseberry ชื่อวิทยาศาสตร์ Sauropus androgynus วงศ์ EUPHORBIACEAE ผักหวานบ้าน ผักหวาน เป็นสมุนไพรไทยรักษาโรคความดันโลหิตสูง

ลักษณะของผักหวานบ้าน ผักหวานบ้าน มีลักษณะ เป็นไม้พุ่ม ซึ่งมีขนาดเล็ก ความสูงต้นประมาณ 1 -3 เมตร ลำต้นสีเขียวเข้ม หรือน้ำตาล เมื่อแก่ตัว มี กิ่งก้านสาขาคล้ายใบมะยม ลำต้นอ่อน กลม ส่วนของ กิ่งอ่อนเป็นสีเขียวเข้ม มีผิวเรียบ ขึ้นอยู่ทั่วในที่ชื้นพอเหมาะ ตามบ้านริมรั้ว สองข้างทาง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด แต่ส่วนใหญ่จะขึ้นเองตามธรรมชาติ ถ้าขึ้นในป่าเรียกว่าผักหวานป่า

สรรพคุณ ผักหวานบ้าน มีสารต้านอนุมูลอิสระ รักษาโรคได้หลากหลาย แต่ขอกล่าวถึง โรคความดันโลหิตสูง ส่วนที่รับประทานคือ ยอด ใบ ลำต้นอ่อนๆ เมล็ด



วิธีการนำมาทำยารักษา / ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

ในรูปของอาหาร ยอด และส่วน ใบอ่อน นำมาปรุงอาหาร หลาก หลายชนิด เช่นแกงเลียง แกงจืด ผัด ต้ม ลวก จิ้มน้ำพริก ยำผัก แกงเผ็ด (ต้องใส่ใบผักหวาน ครั้งละ200กรัม)

ผลแก่ผักหวาน ใช้วิธีการ ลอกเนื้อทิ้งแล้ว นำเมล็ดไปต้มรับประทานได้ ซึ่ง มีรสชาติหวานมัน นำใบสด ไปตากแห้ง นำมาหั่น เป็นชา ดื่ม วันละ 3 -5 ใบ ดี่ม 2-3 แก้ว ต่อวัน

ข้อเสนอแนะ
ลองทำดูนะครับ แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง แล้วโรคความดันโลหิตสูงจะทุเลาเบาบางลง

ขึ้นฉ่ายรักษาโรคความดันโลหิตสูง



ขึ้นฉ่าย เป็นสมุนไพรไทยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ขึ้นฉ่าย ภาษาอังกฤษ Celery ขึ้นฉ่ายมี ชื่อวิทยาศาสตร์ Apium graveolens Linn. วงศ์ APIACEAE (UMBELLIFERAE) ขึ้นฉ่ายเป็นพืชสมุนไพร ซึ่งมีใบคล้ายกับใบผักชี แต่ใบของขึ้นฉ่าย ใหญ่กว่าและมีกลิ่นหอมช่วยให้เจริญอาหาร ขึ้นฉ่าย แบ่งได้เป็น 2 ชนิด หรือ 2 สายพันธุ์ สายพันธุ์แรกก็คือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง ลักษณะโดยทั่วไปจะมีต้นที่อวบใหญ่มาก ลำต้น สูงประมาณ 40-60 เซนติเมตร ส่วนของลำต้น มีสี ขาว ใบเหลืองอมเขียว อีกหนึ่งสายพันธุ์คือ ขึ้นฉ่ายจีน ลำต้นเล็กกว่า ต้นสูงประมาณ 30 เซนติเมตร และใบจะดูแก่ๆ


ลักษณะเด่นชองขึ้นฉ่าย เป็นพืชสมุนไพรหรือผักที่มีกลิ่นหอม ช่วยเพิ่มรสชาติ และสีสันต์ในอาหารที่ปรุง ในที่นี้จะขอกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องคือขึ้นฉ่าย รักษาโรคความดันโลหิตสูง

วิธีการรักษา

1. รับประทานผักขึ้นฉ่าย เป็นผักสดร่วมกับอาหาร วันละ 4 ก้าน แต่รับประทานสม่ำเสมอ ติดต่อกัน พบว่าใบขึ้นฉ่าย จะช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องใช้ยารักษา
2. ใช้ขึ้นฉ่ายสดๆ 3 ต้น มาตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำ ดื่ม ครั้งละ ครึ่งแก้ว
3. ใช้ขึ้นฉ่าย ต้นสด 1-2 กำ นำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ กรองเอากากออก ใช้รับประทานก่อนอาหารครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ

ข้อเสนอแนะ ลองทำดูนะครับ แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง จึงจะได้ผลดี แล้วโรคความดันโลหิตสูงจะไม่อยู่กับคุณอีกต่อไป

ผักโขมรักษาโรคความดันโลหิตสูง



ผักโขม เป็นสมุนไพรไทยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ทางภาคใต้เรียกว่า ผักหมหรือผักโหม ผักโขม (อังกฤษ: Amaranth ) ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amaranthus lividus วงศ์ Amaranthaceae ผักโขม ที่มีอยู่ในประเทศไทย มีหลากหลายหลายพันธุ์ สำหรับพันธุ์ที่นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารคือ ผักโขมหนาม ผักโขมสวน และผักโขมหัด ผักโขมจะขึ้นอยู่ทั่วไปตามแหล่งต่างๆ เช่น สองข้างทาง ชายป่าที่รกๆ ป่าโล่ง ป่าละเมาะ เป็นต้น และเป็น วัชพืชในสวนผลไม้ สวนผักต่างๆ เรือกสวน ไร่นาของชาวบ้าน เป็นผักที่งอกและเจริญเติบโตเร็วโดยไม่ต้องดูแลรักษา

ผักโขม มีรสชาติ อร่อย หวานกรอบ ไม่ได้มีรสชาติขม ดังที่หลายๆคนคิด แต่ น่ากิน หากินง่ายและมีโปรตีนสูง ช่วยเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ เหมือนเนื้อสัตว์


ประโยชน์ของผักโขมมีมากมาย แต่จะขอกล่าวเฉพาะที่เกี่ยวข้องดังนี้

1.บำรุงกำลังทำให้ร่างกาย มีสุขภาพแข็งแรง
2.ช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย
3.ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
4.แมกนีเซียมในผักโขมช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ



วิธีการนำผักโขมมารักษาโรคความดันโลหิตสูง

1.นำผักโขมมา ต้มหรือลวก รับประทานเป็นผักจิ้มกินกับน้ำพริกต่างๆ
2.นำผักโขมมาผัด ปรุงรส รับประทานเป็นกับข้าว
3.นำผักโขมมา ปั่น เอาน้ำดื่ม วันละ 1 – 2 แก้ว / วัน

ข้อเสนอแนะ

ผักโขมมีปริมาณของสารออกซาเลตค่อนข้างสูง (Oxalate) ผู้ที่มีเป็นโรคนิ่ว โรคเกาต์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือผู้ที่ต้องการสะสมปริมาณของแคลเซียมควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชนิด นี้ในปริมาณมากๆ มีคำแนะนำว่าการปรุงอาหารด้วยวิธีการทอด การคั่ว จะช่วยลดปริมาณสารออกซาเลตได้ดีที่สุด แต่การนำไปนึ่งหรือต้มจะช่วยลดลงได้บ้างระดับหนึ่ง !

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

กะเพรารักษาโรคความดันโลหิตสูง



กะเพรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ocimum sanctum) เป็นพืช ประเภทไม้ล้มลุก มีขนาดลำต้น สูง 30-60 ซม. เป็นพืชที่ได้ชื่อว่าเป็นราชินีสมุนไพร (Queen of Herb) นิยม นำใบมาประกอบอาหารหลากหลายเมนู ที่ขึ้นชื่อติดปากคือ ผัดกะเพรา ชนิดของกะเพรา มี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และ กะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว ลำต้นมีลักษณะ ค่อนข้างแข็ง ลำต้นมีขน ใบมีลักษณะเป็น ใบเดี่ยว มีรูปร่างเป็นรูปไข่ขอบหยักมีก้านใบ มีการเรียงตัวแบบตรงกันข้าม มีสีเขียวหรือสีอมม่วง มีกลิ่นหอมรุนแรง

ลักษณะของดอกเป็นช่อยาวมีสีม่วง เป็นชั้นถี่ๆ ดอกย่อยมีสีชมพูแกมม่วง ดอกสั้นบานจากโคนช่อสู่ปลาย ทางการแพทย์อายุรเวท มีความเชื่อว่ากะเพราเป็นพืชที่ช่วยให้อายุยืน ช่วยบรรเทาอาการหวัด ปวดศีรษะ โรคเกี่ยวกับ กระเพาะอาหาร โรคหัวใจและหลอดเลือด ปรับสมดุลระบบภูมิต้านทาน โรคความดันโลหิตสูง

ในปัจจุบันนี้ สถาบันวิจัยของกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการสังคม ประเทศแคนาดา ได้สนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของกะเพรา

สรรพคุณ บรรเทารักษาโรคต่างๆหลายโรค แต่ในที่นี้ จะกล่าวถึงโรคที่เกี่ยวข้อง คือโรคความดันโลหิตสูง มีฤทธิ์ลดความดันเลือด จากการศึกษาในสุนัขพบว่า fixed oil ในกะเพรามีฤทธิ์ช่วยลดความดันเลือด อันอาจมีผลจากฤทธิ์ขยายหลอดเลือดส่วนปลาย และเชื่อว่ามีคุณสมบัติยับยั้งการเกาะกันของเกล็ดเลือด เพิ่มระยะเวลาแข็งตัวของเลือด



วิธีรับประทาน

1. นำใบกะเพรา ไปตากแห้งประมาณ 1-2 วัน นำใบกะเพรามาป่นเป็นผง นำผงใบกระเพรามา ทำชา จำนวน 1 ช้อนชา น้ำร้อนปริมาณ 1 ถ้วย ดื่ม วันละ 3 ครั้ง ก่อนรับประทานอาหาร 5 – 10 นาที
2. กินสดๆ เป็นผัก ในการรับประทานอาหาร วันละ 2 ใน 3 มื้อ มื้อละ 5 – 10 ยอด ต่อเนื่องกัน
3. แคปซูลกะเพรา ควรรับประทานวันละ 2.5 กรัมต่อวัน หรือน้ำมันกะเพรา 2-5 หยด ต่อวัน

ข้อควรปฏิบัติ ควรบริโภคต่อเนื่องกัน อย่างน้อย 1 เดือนจึงจะเห็นผล
ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้กะเพรา ในคนท้องและหญิงให้นมบุตร

จักรนารายณ์รักษาโรคความดันโลหิตสูง



จักรนารายณ์เป็นสมุนไพรไทยรักษาโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อสามัญ Purple passion vine, Purple velvel plant ชื่อวิทยาศาสตร์ Gynura divaricata (L.) DC. หรือวงศ์ ASTERACEAE

จักรนารายณ์ หรือชื่อที่นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า, แป๊ะตำปึง



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของจักรนารายณ์
• ต้นจักรนารายณ์ หรือ แป๊ะตําปึง เป็นพืชดั้งเดิม กำเนิดในประเทศจีน จัดเป็นไม้ล้มลุกแต่สามารถอยู่ได้หลายปี ต้นสูง ประมาณ 20 -50 เซนติเมตร ลำต้นมีสีเขียว มีใบสีเขียวสด ใบดก รากอยู่ใต้ดินเป็นหัวเหง้าและแตกเป็นรากฝอย ขยายพันธุ์ได้ง่าย สามารถนำกิ่งไปปักชำได้ ตายยากขยายพันธ์ได้รวดเร็ว ขึ้นได้ทั้งในที่มีแสงแดดและที่ร่ม แต่จะชอบที่มีแสงแดดมากกว่า และเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ต้องการน้ำมาก ต้นจะสวยงามเป็นไม้ประดับได้ด้วย

สรรพคุณ รักษาและป้องกัน ได้หลากหลายโรค แต่ขอกล่าวเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องคือโรคความดันโลหิตสูง

1. ช่วยฟอกโลหิต ทำให้ระบบโลหิตและน้ำเหลืองดีขึ้น (ใบ)
2. ใบใช้รับประทานสด เป็นผักในอาหารแต่ละมื้อ วันละ 1 – 2 มื้อๆ ละ 2 -5 ใบ มีสรรพคุณช่วยแก้โรคความดันโลหิตสูง (ใบ)
3. นำใบสดไปตากแห้ง รับประทานเป็นน้ำชา วันละ 1-2 แก้ว แก้โรคความดันโลหิตสูง (ใบ)



ข้อเสนอแนะ ควรรับประทานสมุนไพรจักรนารายณ์ อย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติตนในการรับประทานอาหาร ไม่เค็มจัด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ วัดความดันอยู่เป็นประจำ แล้วโรคความดันโลหิตสูงจะบอกลาไปเอง

มะกรูดรักษาโรคความดันโลหิตสูง



มะกรูดเป็นพืชสมุนไพรไทย รักษาโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus hystrix DC.

ชื่อสามัญ : Leech lime, Mauritus papeda

วงศ์ : Rutaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่ม ต้นขนาดกลางมีความ สูงประมาณ 2- 10 เมตร เปลือก สีน้ำตาล มีหนามแหลมทั่วไป ตามกิ่งก้าน ใบ สีเขียวเข้ม และมีต่อมน้ำมันอยู่ตามผิวใบ ใบมีกลิ่นหอมกรุ่นเหมือนเครื่องเทศ ก้านใบ ดูคล้ายใบ ดอก ออกเป็นช่อบริเวณ ซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกมีสีขาว มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก มีผล รูปร่างเป็นทรงกลม มีจุก คล้ายๆส้มจุก ผลมี ผิวขรุขระกลิ่นหอม มีรสเปรี้ยว เป็นน้ำแบบมะนาว มีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเหลือง ส่วนที่ใช้ทำยา ผล ราก ใบ ผิวจากผล

สรรพคุณ : เป็นพืชสมุนไพรไทย ที่ใช้ในการประกอบอาหารและทำยา มีกลิ่นหอม ทำให้อาหารมีรสชาติน่ารับประทาน และนำมาปรุงยาเพราะมีสรรพคุณรักษาโรคได้หลายโรค รวมทั้งโรคความดันโลหิตสูงด้วย



วิธีการ ใช้มะกรูด เป็นยาแก้โรคความดันโลหิตสูง

ผิวมะกรูด หั่นผิว มะกรูดสดๆ เป็นชิ้นๆ นำไปตากแดด ประมาณ 2 – 3 วัน ตากให้แห้งสนิท เก็บไว้ในขวดโหลหรือภาชนะที่มิดชิด นำมาผสมน้ำผึ้งรวง รับประทานวันละ 2- 3 ชิ้น เป็นประจำ ความดันโลหิตสูงจะค่อยๆลดลง

ใบมะกรูด นำไปตากให้แห้ง นำมาฉีกฝอย ดื่มเป็นน้ำชา วันละ 2 เวลา

ใบมะกรูด สดๆนำมาปรุงอาหารสดๆ กินเป็นประจำจะช่วยลดความดันโลหิตสูงด้วย

ข้อเสนอแนะ การรักษาโรคความดันโลหิตสูงให้ได้ผลดี ต้องรู้จักดูแลตนเอง ต้องงดอาหารที่มีไขมันเยอะๆ รับประทานพืชผักสมุนไพรให้พอเหมาะ อย่างต่อเนื่อง แล้วโรคความดันโลหิตสูงจะทุเลาไปในที่สุด

ตะลิงปิงรักษาโรคความดันโลหิตสูง


ตะลิงปิง เป็นพืชที่มีลักษณะเป็นไม้ผล ที่จัดเป็นสมุนไพรไทย รักษาโรคความดันโลหิตสูง เป็นพืชสกุลเดียวกับมะเฟิองแต่มีผลเล็กกว่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ : Averrhoa bilimbi L. ชื่อสามัญ : Bilimbing วงศ์ : OXALIDACEAE

ตะลิงปิง มี ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพึชในเขตร้อน ลักษณะเป็นไม้ พุ่ม ขนาด กลาง มีความสูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นสีน้ำตาลแตกกิ่งก้านสาขา ตั้งแต่โคนต้น ใบเป็นก้านคล้ายใบมะยม มีใบย่อยเรียงตัวกันเป็นคู่ ใบย่อยรูปหอก ปลายใบแหลมก้านหนึ่งๆ มีประมาณ 30 ใบ ใบกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาว 2-5 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อน มีผลดกเป็นช่อๆ สีเขียว ผลเป็นพู 5 ร่อง ลักษณะเป็นช่อห้อย ถ้าผลสุกมีสีเหลือง อมน้ำคล้ายมะเฟือง มีรสเปรี้ยว ผลแต่ละช่อยาวประมาร 6 นิ้ว สำหรับ ดอกมีกลีบ 5 กลีบ สีแดงเข้ม กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียว อมชมพู เกสรอยู่ตรงกลางดอกมีสีเขียวแดง จะออกดอกตาม ลำต้นและกิ่ง ดอกของ มีกลิ่นหอม

คุณค่าทางโภชนาการของตะลิงปลิง (เฉพาะส่วนที่กินได้) ต่อ 100 กรัม • โปรตีน 0.61 กรัม • แคโรทีน 0.035 มิลลิกรัม • วิตามินบี1 0.010 มิลลิกรัม • วิตามินบี2 0.026 มิลลิกรัม • วิตามินบี3 0.302 มิลลิกรัม • วิตามินซี 15.5 มิลลิกรัม • ธาตุแคลเซียม 3.4 มิลลิกรัม • ธาตุเหล็ก 1.01 มิลลิกรัม • ธาตุฟอสฟอรัส 11.1 มิลลิกรัม ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN)


สรรพคุณทางยา ที่เกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูง คือดอกและผล

1.ดอกนำไปตากแห้ง ประมาณ 1 วัน นำมาชงเป็นชา ดื่มได้ตลอดวัน ๆ ละ 3 เวลา
2.ผลนำมารับประทานสดๆ กับพริกเกลือ หรือน้ำปลาหวาน หรือนำไปประกอบอาหาร แทนมะนาว เช่นต้มส้ม แกงส้ม ยำต่างๆ น้ำพริก
3.นำไปแช่อิ่ม โดยใช้สูตร 1 ต่อ 1 ( ตะลิงปิง 1 ส่วน ต่อ น้ำตาล 1 ส่วน ) ประมาณ 5 – 10 วัน รับประทานได้


ลองทำดูนะคะ และต้องรับประทานเป็นประจำและต่อเนื่อง ภายใน 1 เดือน โรคความดันโลหิตสูงที่เป็นอยู่จะทุเลาเบาบางลงค่ะ

มี ผลงานวิจัยที่ประเทศสิงคโปร์พบว่าสารสกัดน้ำของสารสกัดเอทานอลของใบ ตะลิงปลิง สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดของสัตว์ทดลองได้เป็นอย่างดี

แหล่ง อ้างอิง : เว็บไซต์คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), เว็บไซต์หมอชาวบ้าน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.greenerald.com/

ทุเรียนเทศรักษาโรคความดันโลหิตสูง



ทุเรียนเทศ...ทุเรียนน้ำ...ทุเรียนแขก (อังกฤษ: Soursop, Prickly Custard Apple; ชื่อวิทยาศาสตร์: Annona muricata L.) เป็นพืชที่ชอบความชื้นสูง ทางภาคใต้บางท้องถิ่นเรียกว่าทุเรียนเบา ทุเรียนน้ำ มีลักษณะผลมีหนามแหลมๆแต่อ่อนกว่าหนามทุเรียน มีรสหวานอมเปรี้ยวแบบน้อยหน่า มีขายในตลาดโดยทั่วไปในชนบท ทุเรียนน้ำหรือทุเรียนเทศ ไม่ ใช่พืชจำพวกทุเรียนแต่เป็นน้อยหน่าขนาดใหญ่ มีการปลูกมากทางภาคใต้ของไทย แถบอเมริกากลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศแถบร้อนชื้น เนื่องจากทุเรียนน้ำชอบฝนชุก ทำให้มีผลใหญ่ ผลสุกสีเขียวปนน้ำตาลอ่อน เนื้อหวานอมเปรี้ยวมีวิตามินซีสูง ผลไม้รสเปรี้ยวหรือผลไม้จากต้นไม้ Graviola(ทุเรียนน้ำ หรือ (ทุเรียนเทศ)เป็นต้นไม้มหัศจรรย์จากธรรมชาติ ที่เป็นฆาตกรเซลล์โรคมะเร็งได้10,000 เท่าดีกว่าคีโม Chemo และรักษาโรคอื่นๆได้หลาย โรครวมทั้งโรคความดันโลหิตสูงด้วย

กรณีตัวอย่าง ที่ได้ทำการรักษาจริง เป็นชาวบ้านทางภาคใต้ จังหวัดสงขลา ป่วย ด้วยโรค ความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งต่อมลูกหมากหมอจะทำการผ่าตัด แต่ให้กลับมาเตรียมตัวเตรียมใจที่บ้านก่อน ผู้ป่วยท้อแท้ใจ และลองต้มน้ำใบทุเรียนน้ำกิน โดยนำใบทุเรียนน้ำสดๆ มา 5 ใบ นำมาต้มโดยใส่น้ำปริมาณ 1 ลิตร กินวันละ 3 เวลาก่อนอาหาร โดยต้มครั้งหนึ่งๆ กินอยู่ประมาณ 3 วัน แล้วต้มใหม่ ปรากฏว่าลองกินอยู่ประมาณ 1 เดือน ไปเจอหมอและตรวจร่างกาย ปรากฏว่าเซลล์มะเร็งไม่มีไม่ต้องผ่าตัด สร้างความประหลาดใจให้กับหมอ ความดันโลหิตสูงที่เคยสูงก็ลดลงเป็นปกติ และลุงนำการรักษาด้วยทุเรียนน้ำมาบอกต่อสร้างความฮือฮาและมีขวัญกำลังใจให้กับคนที่ป่วยด้วยโรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและโรคอื่นๆ วิธีการนำทุเรียนน้ำมารับประทานเพี่อรักษาและป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรดเบาหวาน โรคมะเร็ง มีวิธีการดังต่อไปนี้



1. .ใบทุเรียนเทศสด จำนวน 5 ใบ นำมาล้างให้สะอาด ฉีก ฝอยๆไม่ต้องละเอียด นำไปต้ม โดยใส่น้ำปริมาณ 1 ลิตร ต้มให้เดือด ใช้เวลาในการต้ม 20 นาที นำมาดื่ม ครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 เวลา ก่อนอาหารในแต่ละมื้อ ( ดื่มก่อนรับประทานอาหาร 10 – 15 นาที )
2. นำใบทุเรียนเทศสด ไปตากให้แห้ง ประมาณ 2-3 วัน นำมาหั่นฝอย หรือฉีกให้ละเอียด ทำเป็นชาดื่มกับน้ำร้อน วันละ 3 เวลา ก่อนรับประทานอาหารในแต่ละมื้อ ( ดื่มก่อนรับประทานอาหาร 10 – 15 นาที ) ลองไปทำดูนะคะ แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง แล้วโรคความดันโลหิตสูงและโรคอื่นๆที่รุมเร้าคุณอยู่จะทุเลาเบาบางและหายได้ในที่สุด ถ้าหายแล้วอย่าลืมบอกต่อนะคะ

ผักกะสังรักษาโรคความดันโลหิตสูง



ผักกะสัง ชื่อวิทยาศาสตร์ Peperomia pellucida Korth วงศ์ PEPEROMIAEAE ชื่อสามัญ Peperomia แหล่งที่พบ พบทั่วไปของทุกภาค

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นพืชล้มลุกต้นมีขนาดเล็กสูง 10 – 20 ซม. ลำต้นมีลักษณะอวบขาวใส เปราะหักง่าย ใบ เป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นในลักษณะตรงข้าม ใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอก ออกดอกเป็นช่อตามปลายยอด ช่อดอกมีสีเขียวอ่อนหรือสีครีม

เป็นพืชที่มี รสเผ็ดหอม มีสรรพคุณทางหยางหมายถึงมีฤทธิ์ร้อน มีผู้เปรียบว่า ผักกะสังกับพริกไทยนั้นเป็นพี่น้องกัน ลักษณะต้นผักกะสังเหมือนกับต้นพริกไทย ถ้าหากใครได้กินผักกะสังที่ยังมีเมล็ดเกาะกันเป็นช่อ เหมือนช่อเมล็ดพริกไทย ก็จะได้รสชาติ เผ็ดนิดๆ ซ่าน้อยๆที่โคนลิ้น ผักกะสังเป็นผักสมบูรณ์แบบชนิดหนึ่งในเรื่องรสชาติ รูปร่างหน้าตา สามารถนำมากินสดๆ หรือลวกกินกับน้ำพริก เป็นสลัด หรือยำก็ได้ หรือนำมาจัดทำแจกันผักขนาดเล็กเป็นผักแกล้มบนโต๊ะกินข้าว สวยงามไม่เบา กินเป็นประจำสามารถลดความดันโลหิตสูง และรักษาโรคมะเร็งได้

อัญชันรักษาโรคความดันโลหิตสูง



อัญชัน ดอกสีม่วงสดสวย ช่วยประดับประดา ริมรั้ว ให้ดูสดใสสวยงาม อัญชันเป็นไม้เลื้อยที่พบเห็นกันได้ง่ายตามบ้านช่อง และข้างทาง ดูมันธรรมดาและไร้ค่า แต่ความเป็นจริงแล้ว ที่ว่าธรรมดาที่หาได้ง่ายๆ นี้กลับมีคุณประโยชน์ในตัวเองแฝงอยู่อย่างมากมายมหาศาล ยากที่จะบรรยาย เพราะดอกอัญชันนั้นอุดมไปด้วยรงควัตถุที่ชื่อ แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในพืชสีม่วง น้ำเงิน และแดง มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ลดภาวะแข็งตัวของหลอดเลือดแดง ยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและเส้น เลือดอุดตันในสมอง ช่วยลดสภาวะความดันโลหิตสูง ให้เข้าสู่สภาวะปกติ

วิธีการรับประทาน

1.ดอกอัญชัน อาจจะรับประทานดอก สดๆ มาล้าง และจิ้มกับน้ำพริก
2. ดอกอัญชันสด มาชุบแป้งทอด ราดน้ำจิ้ม
3.ดอกอัญชัน นำมาซอยเป็นฝอยๆ ใส่ลงไปเจียวกับไข่
4.ใช้น้ำดอกอัญชันมาหุงข้าว ก็จะได้ข้าวสวยหอมๆ ร้อนๆ สีสันสวยงาม
5.เก็บดอกอัญชันมาตากแดดให้แห้งสัก 1-2 วัน แล้วนำมาต้มในน้ำเดือด ดื่มเป็นน้ำชา
6.เก็บดอกอัญชันมาคั้นเอาน้ำ ผสมในการทำขนมต่างๆ จะได้ขนมที่มีสีสันต์สวยงามน่ารับประทาน
ข้อควรปฏิบัติ ให้รับประทานดอกอัญชัน อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ แล้วโรคความดันโลหิตสูงและโรคอื่นๆจะบอกลาไปเอง

ผักชีล้อมรักษาโรคความดันโลหิตสูง


ผักชีล้อม หรือ Fennel เป็นพืชที่ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Foeniculum vulgare อยู่ในวงศ์ผักชีฝรั่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในยุโรปตะวันตกและเอเชียตะวันตก มีสรรพคุณแก้โรคความดันโลหิตสูงดีนักแลวิธีรับประทาน ดังนี้

1 กินใบสดๆ เป็นผัก ในการรับประทานอาหารแต่ละมื้อๆ ละ 3- 5 ต้น จำนวน 2 ใน 3 มื้อ ในแต่ละวัน รับประทานประมาณ 20 วัน ติดต่อกัน ความดันโลหิตสูงจะลดลง

2 ต้มกินเป็นน้ำดื่ม จำนวน 5 – 6 ต้น ในปริมาณน้ำ 1 ลิตร กินเป็นประจำ วันละ 3 แก้ว ก่อนหรือหลังอาหาร ติดต่อกัน ประมาณ 1 เดือน ความดันโลหิตสูงจะลดลง

มะรุมรักษาโรคความดันโลหิตสูง


มะรุม หรือ MORINGA OBEISFERA LAMK.M. PTERYGOSPEAMA GAERTN อยู่ในวงศ์ MORINGACEAE เป็นต้นไม้แห่งชีวิต กินเป็นประจำสามารถรักษาโรคได้หลากหลายโรค รวมถึงโรคความดันโลหิตสูงด้วย ใบสดมีวิตามินซี และมีโปรตีนสูง ในการรับประทานเพื่อลดความดันสูงมีวิธีการรับประทานตามปริมาณดังต่อไปนี้

1. ยอดมะรุมสด ปริมาณ 200 กรัม โขลกตำ ละเอียดใส่น้ำเล็กน้อย แล้วใช้ผ้าขาวบางบีบคั้นเอาน้ำ ผสมน้ำผึ้งรวง พอประมาณ กินวันละ 2 ครั้ง เช้า- เย็น ครั้งละครึ่งแก้ว กินเป็นประจำความดันจะลดลง จนเป็นปกติ


2. ยอดมะรุมสด จำนวน 3 – 5 ยอด รับประทานสดๆ เป็นผัก วันละ 3 มื้อ เมื่อรับประทานอาหาร รับประทานเป็นประจำภายใน 1 เดือน ความดันจะลดลง