ผักโขมรักษาโรคความดันโลหิตสูง



ผักโขม เป็นสมุนไพรไทยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ทางภาคใต้เรียกว่า ผักหมหรือผักโหม ผักโขม (อังกฤษ: Amaranth ) ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amaranthus lividus วงศ์ Amaranthaceae ผักโขม ที่มีอยู่ในประเทศไทย มีหลากหลายหลายพันธุ์ สำหรับพันธุ์ที่นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารคือ ผักโขมหนาม ผักโขมสวน และผักโขมหัด ผักโขมจะขึ้นอยู่ทั่วไปตามแหล่งต่างๆ เช่น สองข้างทาง ชายป่าที่รกๆ ป่าโล่ง ป่าละเมาะ เป็นต้น และเป็น วัชพืชในสวนผลไม้ สวนผักต่างๆ เรือกสวน ไร่นาของชาวบ้าน เป็นผักที่งอกและเจริญเติบโตเร็วโดยไม่ต้องดูแลรักษา

ผักโขม มีรสชาติ อร่อย หวานกรอบ ไม่ได้มีรสชาติขม ดังที่หลายๆคนคิด แต่ น่ากิน หากินง่ายและมีโปรตีนสูง ช่วยเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอ เหมือนเนื้อสัตว์


ประโยชน์ของผักโขมมีมากมาย แต่จะขอกล่าวเฉพาะที่เกี่ยวข้องดังนี้

1.บำรุงกำลังทำให้ร่างกาย มีสุขภาพแข็งแรง
2.ช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย
3.ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
4.แมกนีเซียมในผักโขมช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ



วิธีการนำผักโขมมารักษาโรคความดันโลหิตสูง

1.นำผักโขมมา ต้มหรือลวก รับประทานเป็นผักจิ้มกินกับน้ำพริกต่างๆ
2.นำผักโขมมาผัด ปรุงรส รับประทานเป็นกับข้าว
3.นำผักโขมมา ปั่น เอาน้ำดื่ม วันละ 1 – 2 แก้ว / วัน

ข้อเสนอแนะ

ผักโขมมีปริมาณของสารออกซาเลตค่อนข้างสูง (Oxalate) ผู้ที่มีเป็นโรคนิ่ว โรคเกาต์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือผู้ที่ต้องการสะสมปริมาณของแคลเซียมควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชนิด นี้ในปริมาณมากๆ มีคำแนะนำว่าการปรุงอาหารด้วยวิธีการทอด การคั่ว จะช่วยลดปริมาณสารออกซาเลตได้ดีที่สุด แต่การนำไปนึ่งหรือต้มจะช่วยลดลงได้บ้างระดับหนึ่ง !

แหล่งอ้างอิง : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)